24-28 มกราคม 2554

                                  
                                
                                   
ตอบ. ข้อ. 1

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88

อธิบาย          อธิบาย              คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ
ปัจจุบันมีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายๆด้านเช่น การติดต่อสื่อสาร (มือถือ โทรทัศน์ วิทยุ เรดาร์ ใยแก้วนำแสง) ทางการแพทย์ (รังสีเอกซ์) การทำอาหาร (คลื่นไมโครเวฟ) การควบคุมรีโมท (รังสีอินฟราเรด)
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือเป็นคลื่นที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กตั้งฉากกันและเคลื่อนที่ไปยังทิศทางเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 m/s หรือเทียบเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์
                                   
ตอบ    ข้อ. 4

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8 

อธิบาย  เข็มทิศ (อังกฤษ: magnetic compass) คือเครื่องมือสำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระในแนวนอนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่งสำหรับหาทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ (อักษร N หรือ น) เมื่อทราบทิศเหนือแล้วก็ย่อมหาทิศอื่นได้โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ด้านหลังเป็นทิศใต้ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือการบอกเป็นทิศที่สำคัญ 4 ทิศ คือทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก หรืออาจจะบอกละเอียดเป็น 8,16 หรือ32ทิศก็ได้

                          

           ตอบ  ข้อ.4

           ที่มา http://physics601182026.multiply.com/journal/item/18

           อธิบาย
1. เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กโดยมีทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กจะถูกแรงเนื่องจากสนามแม่เหล็กกระทำหรือแรงแม่เหล็ก ทำให้แนวการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป
2. การเบนของลำอิเล็กตรอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างหลอดภาพของโทรทัศน์
3. หลอดภาพของโทรทัศน์ ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
 -          ขั้วแคโทด หรือ ปืนอิเล็กตรอน ทำหน้าที่ผลิตลำอิเล็กตรอน
-          จอเรืองแสง โดยจะฉาบสารเรืองแสงไว้และเมื่ออิเล็กตรอนตกกระทบจอจะเรืองแสง
-     ขดลวดเบี่ยงเบน ทำหน้าที่ผลิตนามแม่เหล็กเพื่อเบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอน และควบคุมการเคลื่อนที่ของลำอิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่กวาดไปมาบนจอภาพในแนวระดับด้วยความเร็วสูง
4.  เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำซึ่งวางตัดกับสนามแม่เหล็กจะมีแรงแม่เหล็กกระทำต่อขดลวดตัวนำ มีผลให้ขดลวดตัวนำเคลื่อนที่ ทิศทางของแรงแม่เหล็กขึ้นอยู่กับทิศของกระไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก หลักการนี้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องวัดไฟฟ้าต่างๆ5.เมื่อขดลวดตัวนำวางตัดกับสนามแม่เหล็กแล้วหมุนขดลวดในสนามแม่เหล็กแล้วจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด เรียกกระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ซึ่งพบโดยไมเคิล ฟาราเดย์ หลักการนี้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

                                  

                    ตอบ    ข้อ.3

                    ที่มา   http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=160&Itemid=158

                    

การเคลื่อนที่ (อังกฤษ: motion) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งวัดโดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เซอร์ไอแซก นิวตัน ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันในหนังสือ Principia ของเขา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกฎพื้นฐานของฟิสิกส์ดั้งเดิม การคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ โดยใช้ฟิสิกส์ดั้งเดิมนั้นประสบความสำเร็จมาก จนกระทั่งนักฟิสิกส์เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก
นักฟิสิกส์พบว่า ฟิสิกส์ดั้งเดิมไม่สามารถคำนวณสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงได้แม่นยำ เพื่อแก้ปัญหานี้ อองรี ปวงกาเร และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เสนอทฤษฎีอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุ เพื่อใช้แทนของกฎของนิวตัน กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกำหนดให้อวกาศและเวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์ แต่ทฤษฎีไอน์สไตน์กับปวงกาเร ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ กำหนดให้ค่าเหล่านี้เป็นสิ่งสัมพัทธ์ ซึ่งต่อมา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษก็เป็นที่ยอมรับในการอธิบายการเคลื่อนที่ เพราะทำนายผลลัพธ์ได้แม่นยำกว่า อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันยังเป็นที่ใช้กันอยู่ โดยเฉพาะงานด้านฟิสิกส์ประยุกต์และงานวิศวกรรม เพราะสามารถคำนวณได้ง่ายกว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ

                               
ตอบ  ข้อ.3

ที่มา   http://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p01.html

อธิบาย
         ในขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่  ได้ระยะทางและการกระจัดในเวลาเดียวกัน  และต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่  จึงทำให้เกิดปริมาณสัมพันธ์ขึ้น  ปริมาณดังกล่าวคือ
    1. อัตราเร็ว  คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที
    2. ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว
    สมการแสดงความสัมพันธ์ของอัตราเร็ว ระยะทาง และเวลาเป็นดังนี้           ให้         เป็นค่าอัตราเร็วหรือความเร็ว                        เป็นระยะทางหรือการกระจัด                         เป็นเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่            สมการคือ                           (สมการที่ 1)                  
         อัตราเร็ว และความเร็ว เป็นปริมาณที่แสดงให้ทราบลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุ    ถ้าในทุก ๆ  หน่วยเวลาของการเคลื่อนที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยขนาดของอัตราเร็ว หรือ ความเร็วเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ เรียกว่าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอหรืออัตราเร็วคงที่         ถ้าพิจราณาแล้วพบว่าในแต่ละหน่วยเวลาของการเคลื่อนที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วหรือความเร็วที่แตกต่างกัน กล่าวว่า วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่ง หรือ ความเร่ง   ในกรณีนี้การหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็ว หาได้สองลักษณะคือ
    1. อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง หรือความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง เป็นการหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงใดช่วงหนึ่งของการเคลื่อนที่ 
    2. อัตราเร็วเฉลี่ยหรือความเร็วเฉลี่ย เป็นการหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็วหลังจากมีการเคลื่อนที่  โดยคำนวณหาจากการเฉลี่ยระยะทางทั้งหมดของการเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลาของการเคลื่อนที่ หรือการเฉลี่ยการกระจัดของการเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลา     
    ข้อสังเกต   วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ ค่าอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง กับค่าอัตราเร็วเฉลี่ยมีค่าเท่ากัน
                          
    ตอบ ข้อ.4
    อธิบาย
                   
    ตอบ    ข้อ. 2
    อธิบาย   การเคลื่อนที่แบบวงกลมเป็นแบบ  เช่น  การแกว่งวัตถุที่ผูกติดกับเชือก   การดีดลูกกลมโลหะไปตามรางโค้ง  และการทดลอง โดยใช้เครื่องมือชุดการเคลื่อนที่แบบวงกลม  ทำให้สรุปได้ว่าวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนววงกลมต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางกระทำต่อ วัตถุนั้นและปริมาณ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   เช่น คาบ ความถี่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็ว  ความเร็วของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คือ จะช้าลง เมื่อ วัตถุ เคลื่อนที่ สูงขึ้น และ จะเร็ว ขึ้น เมื่อ วัตถุ เคลื่อนที่ ต่ำลง มา ความเร็ว ที่เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่ กับ ความตึง ของเส้น เชือก ที่ยึด วัตถุ นั้นไว้ เพื่อ แกว่ง ให้เป็น วงกลม ในแนว ดิ่ง หรือ อาจขึ้น อยู่กับ แรง ปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสกระทำต่อ วัตถุ ที่กำลัง เคลื่อนที่ อย่าง อิสระ นอกจาก นั้น ความเร็ว ของ วัตถุ ยังขึ้น อยู่กับ มุม ( q ) ที่วัตถุกระทำกับ แนวดิ่งมวล ของ วัตถุ ( m ) และ รัศมี ( r ) ของการ เคลื่อนที่ เป็น วงกลม อีกด้วย
                           
    ตอบ    ข้อ. 2
    ที่มา  ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่ 1.คาบ (Period) "T" คือ เวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที่/รอบ หรือวินาที 2.ความถี่ (Frequency) "f" คือ จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ภายในเวลา 1 วินาที หน่วยเป็นรอบ/วินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hz)
     

    ตอบ   ข้อ.4
                              


    อธิบาย  การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
    ระยะทาง คือ ความยาวที่วัดตามแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นปริมาณสเกลาร์
    ความเร่ง คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งวินาที
    ความเร่งขณะใดขณะหนึ่ง คือความเร่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ความเร่งที่กำลังผ่าน
    จุดใดจุดหนึ่ง
    ความเร่งเฉลี่ย คือค่าเฉลี่ยของความเร่งตลอดเส้นทางการเคลื่อนที่

    จากนิยามสามารถสรุปเป็นสูตรได้ 3 สูตร คือ
    1) v = u + at
    2) s = ut + (1/2)at2

    3) v2 = u2 + 2as



              ตอบ  ข้อ.3

  1. อัตราเร็ว  คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที
  2. ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว


                   อธิบาย    รังสี...คืออะไร?

    รังสี (Radiation) ไม่ใช่ของแปลกใหม่ ไม่ใช่สิ่งประหลาด รังสีเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ โดยมาจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั่วไป หรือมาจากรังสีที่มีต้นกำเนิดจากภายนอกโลกของเรา รังสีคือพลังงานที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ แสงสว่าง รังสีเอ็กซ์ และรังสีคอสมิกเป็นต้น และ/หรือ ในลักษณะของอนุภาคที่มีความเร็วสูง เช่น แอลฟา และ เบตา เป็นต้น

    รังสีที่เกิดขึ้น ได้ทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ โดยแหล่งที่ก่อให้เกิดรังสีมากที่สุดได้แก่ รังสีจากธรรมชาติ อาทิเช่น จากสารกัมมันตรังสีที่มีในพื้นดินสินแร่และสิ่งแวดล้อม จากอากาศที่เราหายใจ แม้กระทั่งในร่างกายและในอาหารที่เราบริโภค ซึ่งมีการเจือปนด้วยสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ นอกจากนั้นในห้วงอวกาศก็มีรังสีซึ่งนอกจากรังสีของแสงอาทิตย์แล้ว ก็ยังมีรังสีคอสมิกที่แผ่กระจายอยู่ทั่วจักรวาล แหล่งกำเนิดรังสีที่มาจากการกระทำของมนุษย์มีหลายรูปแบบ อาทิเช่น จากการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ รวมทั้งการผลิตสารกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่างๆ



    รังสี...เกิดขึ้นได้อย่างไร


    รังสีนิวเคลียร์ทั่วไป

    รังสีเบต้า (b) เบต้าเป็นอนุภาคที่มีมวลและค่าประจุไฟฟ้าเท่ากับอิเลคตรอน ในแต่ละอนุภาคมีประจุไฟฟ้าหนึ่งหน่วย ถ้าประจุเป็นบวก เรียกว่า อนุภาคเบต้าบวก ( b+ ) หรือ โปสิตรอน หากประจุเป็นลบ เรียกว่าอนุภาคเบตาลบ ( b- ) โดยทั่วๆไปหากเรียกแต่เพียง เบต้า จะหมายถึง อนุภาคเบต้าลบ ทำให้เกิดรังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่า Bremsstrahlung หรือ Braking Radiation ซึ่งมีพลังงานตั้งแต่ 0 ถึงพลังงานสูงสุดของรังสีเบตา และมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีเบตา (วัตถุที่ขวางกั้นรังสีเบตาที่มี Atomic number ต่ำกว่า)

    รังสีแกมมา (g) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียส มีความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 1018 ถึง 1021 Hz และมีพลังงานสูง

    รังสีเอ็กซ์ (x-rays) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีแกมมา แต่แผ่ออกมาจากวงโคจรของอิเลคตรอน รังสีเอ็กซ์มีพลังงานต่ำกว่า รังสีแกมมา และมีความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 1015 ถึง 1022 Hz รังสีเอ็กซ์มีอยู่สองชนิดได้แก่ Continuous X-rays หรือ Bremsstrahlung และ Characteristic X-rays

    รังสีนิวตรอน (n) เป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง นิวตรอนไม่อาจอยู่อย่างอิสระ จะสลายตัวไปเป็นโปรตรอน อิเลคตรอน และแอนตินิวตริโน ภายในเวลาประมาณสิบสองนาที

    รังสีแอลฟา (a) แอลฟาเป็นอนุภาคที่มีคุณสมบัติเหมือนนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม (2He4 ) ในแต่ละอนุภาคแอลฟาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกสองหน่วย (ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค)

    3 ความคิดเห็น:

    1. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม 2554 เวลา 00:15

      ตรวจงานท้ายชั่วโมง ทำได้ถึงข้อ 47

      ตอบลบ
    2. เต็ม 100 ได้ 85 เพราะ เนื้อหาไม่ค่อยเยอะ

      ตอบลบ
    3. เต็ม 100 ได้ 95 เพราะ เนื้อหาไม่ค่อยละเอียด

      ตอบลบ